รวมมาให้แล้ว! จะตรวจสภาพรถทั้งที มีขั้นตอนยังไงบ้าง?

รวมมาให้แล้ว! จะตรวจสภาพรถทั้งที มีขั้นตอนยังไงบ้าง?

สรุปบทความ

สรุปแล้วการตรวจรถกับตรอ. อย่างเดียวนั้นอาจจะไม่เพียงพอ เพราะการตรวจนี้มักจะเป็นเอกสารที่เอาไว้ดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับรถเสียมากกว่า หากคุณต้องการเดินทางไปต่างจังหวัดไกล ๆ ควรตรวจส่วนอื่นเพื่อเพิ่มความมั่นใจมากยิ่งขึ้นขณะเดินทาง เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้นก่อนการซื้อรถ

การตรวจสภาพรถ เป็นเรื่องพื้นฐานที่จะต้องสนใจ เพราะคงไม่มีใครอยากจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่าไรนัก (หูยยยย น่ากลัววว~) นั่นแหละครับ การที่คุณ ๆ ทั้งหลายที่ใช้รถใช้ถนน อย่างน้อยการป้องกันที่ดีที่สุดนั่นคือการไม่ประมาท ควรหมั่นเอารถไปตรวจสภาพบ้าง อย่าให้น้องมางอแงตอนที่คุณอยากจะใช้งาน ซึ่งไหน ๆ จะเอารถเข้าไปตรวจทั้งที มันควรจะต้องตรวจอะไรบ้าง และรถกี่ปีต้องตรวจสภาพ

ตรวจสภาพรถกับทางตรอ.

คุ้น ๆ กันใช่มั้ยล่ะ เครื่องหมายตรอ. ที่คุณมักจะเห็นป้ายเวลาขับรถผ่านสิ่งก่อสร้างคล้าย ๆ โกดัง และมีอุปกรณ์ในการตรวจรถอยู่ข้างใน ซึ่งมันย่อมาจาก

“สถานตรวจสภาพรถเอกชน”

ซึ่งทุกที่จะได้รับการรับรองและอนุญาตจากกรมขนส่งในการให้ตรวจสภาพรถยนต์ ว่าสามารถใช้งานได้โดยไม่เกิดอันตราย (สามารถตรวจได้ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์เลย)ตรอ. ตรวจอะไรให้เราบ้าง??

ตรอ. นั้นเหมือนเป็นเพียงการตรวจขั้นพื้นฐานเท่านั้น ไม่ได้มีอะไรที่พิเศษมากมาย ซึ่งการตรวจตรอ. มันก็มีประโยชน์ในเรื่องอื่น ๆ อยู่ แต่เดี๋ยวเราค่อยมาว่ากันทีหลัง ในตอนนี้เรามาดูกันก่อนว่า หากคุณหันรถและขับเข้าไปตรวจแล้ว คุณจะได้อะไรบ้างกับการเสียเงินครั้งนี้

1. ตรวจสอบภายนอกรอบคัน

ตรอ. จะตรวจภายนอกโดยรอบ ๆ ในเรื่องสี ตัวถัง หมายเลขตัวถัง ยี่ห้อ รุ่น เครื่องยนต์ ว่าตรงกันกับในเอกสารรูปเลขของตัวรถหรือไม่ หากไม่ตรงกันทางตรอ. ก็จะไม่ดำเนินการตรวจต่อให้ 

2. ตรวจการทำงานของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ

เรื่องที่จำเป็นที่สุดของการตรวจสอบรถแล้ว คือเรื่องของระบบความปลอดภัย โดยตรอ. จะตรวจให้มั่นใจว่าจะไม่อันตรายต่อผู้ขับ ในเรื่องของระบบและอุปกรณ์ ดังนี้

  • อุปกรณ์เข็มนิรภัย
  • ที่นั่งทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
  • พวงมาลัยรถยนต์
  • ไฟสัญญาณบนหน้าปัด
  • ไฟส่องสว่าง
  • ที่ปัดน้ำฝน
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในรถ

3. ตรวจประสิทธิภาพการห้ามล้อ

การตรวจประสิทธิภาพการห้ามล้อ หรือก็คือ “ระบบเบรก” นั่นแหละ (จะเรียกให้ยากทำไมกันนน!!) ตรวจดูว่ารถยังสามารถเบรกได้ดีเยี่ยมอยู่ ซึ่งจะมีเครื่องมือในการวัด

  • แรงห้ามล้อในต่อที่รถจอดอยู่กับที่ ต้องมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักรถ
  • แรงห้ามล้อทุกล้อจะต้องรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักรถ
  • ผลต่างของแรงห้ามล้อหลักด้านขวาและด้านซ้ายต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของแรงห้ามล้อสูงสุดในเพลานั้น

4. ตรวจความสว่างของไฟ

กลางค่ำกลางคืนก็อันตรายอ่ะเนอะ ตรอ. ก็ต้องมีการตรวจเรื่องของไฟหน้ารถที่ต้องใช้ขับขี่เวลากลางคืนกันหน่อย ป้องกันในเรื่อง (ไฟข้างทางของประเทศไทยก็มีเยอะเสียเหลือเกิน) โดยจะตรวจรายละเอียดดังนี้

  • ไฟพุ่งต่ำ จะต้องมีมุมกดจากแนวราบอยู่ที่ 0.29 องศา ถึง 2.29 องศา โดยมีความเข้มส่องสว่างดวงไฟแต่ละดวงไม่น้อยกว่า 6,400 แคนเดลลา (cd)
  • ไฟพุ่งไกล ความเข้มส่องสว่างดวงไฟแต่ละดวงไม่น้อยกว่า 12,000 แคนเดลลา (cd) และทุกดวงรวมกันต้องไม่เกินกว่า 430,000 แคนเดลลา (cd)

5. ตรวจควันของรถ

ควันของรถก็ไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน เพราะว่าควันก็เป็นตัวบ่งบอกสุขภาพของรถยนต์ได้ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว แถมนอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของมลพิษในอากาศอีก (ช่วย ๆ กันรักษาโลกกันนิดนึงก็ยังดี)

  • รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พ.ย. 2536 ค่าคาร์บอนไดออกไซน์ ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5 และค่า HC ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน
  • รถยนต์ที่จดทะเบียนระหว่าง 1 พ.ย. 2536 – 31 ธ.ค. 2549 ค่าคาร์บอนไดออกไซน์ ไม่เกินร้อยละ 1.5 และค่า HC ไม่เกิน 200 ส่วนในล้านส่วน
  • รถยนต์อื่น นอกเหนือจากข้อก่อนนี้ ที่จดทะเบียนก่อน 1 ม.ค. 2550 ค่าคาร์บอนไดออกไซน์ ไม่เกินร้อยละ 4.5 และค่า HC ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน
  • รถยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 ม.ค. 2550 เป็นต้นไป ค่าคาร์บอนไดออกไซน์ ไม่เกินร้อยละ 0.5 และค่า HC ไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน
  • รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ต้องตรวจควันดำ โดยระบบกระดาษกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบวัดความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45

6. ตรวจเสียงดังรบกวน

ปกติเรามักจะได้ยินข่าวการจับเสียงดังเกินกำหนดจากรถจักรยานยนต์เสียมากกว่า ในรถยนต์นี่ถือว่าเป็นส่วนน้อยเลยทีเดียว แต่ก็ต้องตรวจเพราะเป็นในเรื่องของข้อกฎหมายที่กำหนดเอาไว้ว่า “เสียงจะต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล”

การตรวจสภาพรถกับตรอ.มีค่าใช้จ่ายเท่าไรบ้าง

ในส่วนของค่าใช่จ่ายในการตรวจจะแบ่งตามน้ำหนักของตัวรถ ยิ่งรถหนักยิ่งราคาสูง

ประเภทราคา
รถยนต์น้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม 150 บาท/คัน
รถยนต์น้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม 250 บาท/คัน
รถจักรยานยนต์60 บาท/คัน

รถกี่ปีต้องตรวจสภาพบ้าง

รถยนต์ที่สามารถนำเข้ามาตรวจสภาพกับทางตรอ. จะต้องมีคุณสมบัติแบบนี้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • จักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป
  • รถที่ภาษีขาดเกิน 1 ปี

การตรวจสภาพรถกับตรอ. พอจริงเหรอ??

ต้องขอบอกว่ามีทั้ง “จริง!!” และ “ไม่จริง” ในเวลาเดียวกัน อยู่ที่ว่าสถานการณ์ที่ต้องไปตรวจนั้นเป็นอย่างไร เดี๋ยวเราจะมายกตัวอย่างสถานการณ์ไปพร้อมกันเลยดีกว่า

“จริง” ถ้าเป็นสถานการณ์นี้!!

หากคุณแค่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ ต่อทะเบียนต่อพรบ. หรือสำหรับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรถยนต์ การตรวจกับตรอ. เท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะใบการตรวจนี้ เหมือนเป็นเอกสารหนึ่งที่ใช้ในการยื่นประกอบในการทำส่งต่าง ๆ

“ไม่จริง” ถ้าเป็นสถานการณ์นี้!!

หากคุณกำลังจะต้องเดินทางไปที่ไหนสักแห่งไกล ๆ หรือไปทริปเที่ยวกับครอบครัวและเพื่อน ๆ แล้วล่ะก็ การตรวจเท่านี้อาจจะไม่เพียงพอ ควรจะเพิ่มรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ เพื่อให้รถยนต์นั้นพร้อมและมั่นใจได้ว่าจะไม่มีอะไรผิดพลาดระหว่างการเดินทาง

TIPS : หากต้องการตรวจรถเพิ่มเติม มาใช้บริการ Kaidee Certified สิ คลิกที่นี่ 

การเช็ครถสำหรับเดินทางไกลอ่านได้ที่นี่

สรุปบทความ ตรวจสภาพรถ

สรุปแล้วการตรวจรถกับตรอ. อย่างเดียวนั้นอาจจะไม่เพียงพอ เพราะการตรวจนี้มักจะเป็นเอกสารที่เอาไว้ดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับรถเสียมากกว่า หากคุณต้องการเดินทางไปต่างจังหวัดไกล ๆ ควรตรวจส่วนอื่นเพื่อเพิ่มความมั่นใจมากยิ่งขึ้นขณะเดินทาง เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้นก่อนการซื้อรถ

ลองมองหาสัญลักษณ์ Kaidee Certified ในหน้า ‘ประกาศ’ ที่เป็นตัวเลือกให้คุณตัดสินใจซื้อรถได้ง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกใจและสมเหตุสมผล ได้ที่นี่ใน Kaidee Auto แหล่งรถรถยนต์มากมายที่เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์การเดินทาง

สอบถามข้อมูลอื่นๆ หรือสิทธิพิเศษเพิ่มเติม

กรุณาสแกนคิวอาร์โค้ด หรือเพิ่มเพื่อนด้วยไอดีไลน์ @kaideeofficial